เครื่องตัวจับก๊าซพิษที่ใช้ “นกคีรีบูน”

เครื่องตัวจับก๊าซพิษที่ใช้ “นกคีรีบูน”

 อุปกรณ์ที่เห็นอยู่นี้เป็นอุปกรณ์ตรวจจับก๊าซพิษในยุคเก่า

แต่ที่ดูแปลกตาก็คือภายในกระจกใสนั้นเป็นนกคีรีบูนแทนที่จะเป็นเครื่องตรวจจับก๊าซพิษ

นี่เป็นเครื่องตรวจจับก๊าซพิษที่ใช้นกคีรีบูนเป็นที่ตรวจจับ โดยนกคีรีบูนจะถูกใส่ลงมาในกล่อง และด้านบนจะเป็นท่อหรือรูเล็กๆ ให้นกมีอากาศหายใจ

เมื่อราวๆ 30 ปีที่แล้ว คนงานเหมืองในอังกฤษมักจะเข้าไปในเหมืองโดยนำเจ้าเครื่องนี้และนกคีรีบูนเข้าไปด้วย เนื่องจากในเหมืองนั้นมักจะมีก๊าซพิษเช่นคาร์บอนมอนอกไซด์

นกคีรีบูนนั้นจะรับรู้และมีปฏิกิริยาต่อก๊าซพิษได้ไวกว่ามนุษย์ ดังนั้นหากมีก๊าซพิษ นกคีรีบูนจะมีปฏิกิริยา ทำให้คนงานสังเกตเห็นได้และรู้ว่ามีก๊าซพิษ

ไม่เพียงแต่คนงานเหมืองเท่านั้นที่ใช้นกคีรีบูนเป็นเครื่องตรวจจับ หน่วยกู้ภัยที่เข้าไปช่วยคนงานเวลาที่เหมืองถล่มก็จะใช้เจ้าเครื่องนี้พร้อมนกคีรีบูนในการตรวจจับก๊าซพิษเช่นกัน


จริงๆ แล้วแนวคิดในการนำสัตว์มาเป็นที่ตรวจจับก๊าซพิษนั้นมีมาตั้งแต่ยุค 1890 (พ.ศ.2433-2442) โดยมีการทดลองกับหนูและนกคีรีบูน

ผลการทดลองพบว่านกคีรีบูนมีปฏิกิริยาที่ไวกว่าสัตว์อื่นและใช้การได้ดีที่สุด ซึ่งทำให้การใช้นกคีรีบูนสำหรับคนงานเหมืองเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา

ต่อมา ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) อังกฤษก็ได้ออกกฎหมายห้ามใช้นกคีรีบูนสำหรับการตรวจจับก๊าซพิษและให้เปลี่ยนมาใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกซึ่งมีราคาถูกกว่าและไม่เป็นการทรมานสัตว์แทน

เครดิต ประวัติศาสตร์ไทยและเทศ&ภาพเก่าในอดีต





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติ “แซนด์วิช” sandwich

“บาบา ยากา (Baba Yaga)” แม่มดแห่งสลาวิก

ทำไมมดไม่ขึ้นโรงงานน้ำตาล?