ที่มาของร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน เบื้องหลังการประท้วงที่ "ฮ่องกง"

ที่มาของร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน
เบื้องหลังการประท้วงที่ "ฮ่องกง"





เหตุการณ์การประท้วงต่อต้านร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่ เขตปกครองพิเศษ ทำไมถึงมีผู้ร่วมประท้วงมากถึงหนึ่งล้านคน?

โดยสถานการณ์ล่าสุด ทางการฮ่องกงได้มีการเข้าสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 70 คน คาดการกันว่า การประท้วงอาจยืดเยื้อต่อไป คงต้องติดตามกันต่อ

📌 ที่มาของการประท้วง 
เหตุผลของการยื่นร่างกฎหมายเข้าสภานิติบัญญัติของฮ่องกง มี่ที่มาที่ไปอย่างไร?

📖 แนวความคิดการออกกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนมาจากเหตุการณ์เหคถการณ์หนึ่ง

มีเหตุการณ์ที่สตรีชาวฮ่องกงวัย 20 ปีชื่อ "พานเสี่ยวอิง" ซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่ ได้ถูกฆาตกรรมขณะเดินทางไปท่องเที่ยวไต้หวันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2018

โดยผู้ก่อเหตุก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็น "เฉินถ่งเจียน" แฟนหนุ่มของเธอเอง สาเหตุจากการไม่พอใจที่รู้ว่าอีกฝ่ายตั้งครรภ์ได้ 5 สัปดาห์ หลังจากฆ่าแล้วได้ทำการอำพรางคดี และเดินทางกลับฮ่องกงเพียงคนเดียว หลังเกิดเหตุทางครอบครัวได้เข้าแจ้งความหลังไม่สามารถติดต่อได้ถึง 3 สัปดาห์ จนนำไปสู่การจับกุม ที่ฮ่องกง

แต่ทว่าไม่สามารถตั้งข้อหาฆาตกรรมได้เนื่องจากเหตุการณ์ฆาตกรรมนี้เกิดเหตุขึ้นที่ไต้หวัน

โดนทางการไต้หวันเอง ได้เรียกร้องให้ทางฮ่องกงส่งตัวให้ แต่รัฐบาลฮ่องกงระบุว่าไม่มีกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้ไต้หวัน 
เนื่องจากฮ่องกงมีข้อตกลงส่งผู้ร้ายข้ามแดนร่วมกับ 20 ประเทศ รวมถึง สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย "แต่ไม่มีข้อตกลงใดๆ กับจีน"

เรื่องคดีทางการไต้หวันได้ตัดสินโทษไว้ที่ 37 ปี 6 เดือน แต่ในฮ่องกงสามารถตัดสินได้เพียงข้อหาอื่นซึ่งมีโทษเพียงเล็กน้อย

แม้ว่าไต้หวันได้ร้องขอให้ทางฮ่องกงส่งตัวผู้ร้ายมา แต่ทางฮ่องกงปฏิเสธเนื่องจากกฎหมายไม่ครอบคลุมให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้กับไต้หวัน (รวมถึงกับ มาเก๊า,จีนแผ่นดินใหญ่) 
ทางฮ่องกงจึงลงโทษฆาตกรรายนี้ตามความผิดที่เขาได้ก่อแค่ในประเทศเท่านั้น

โดยขณะนี้ เฉินถูกจำคุกมาตั้งแต่เดือนเมษายน ในข้อหาอื่นคือในเรื่องการเงิน และจะถูกปล่อยตัวในเดือนตุลาคมปีนี้

หากร่างกฎหมายนี้ผ่านสภานิติบัญญัติของฮ่องกง ก็จะเป็นการอนุญาตให้ฮ่องกงส่งตัวอาชญากรหลบหนีข้ามแดน ที่ต้องโทษจำคุก 7 ปีขึ้นไป 
ให้ประเทศที่ร้องขอและยังไม่มีสนธิสัญญาหรือข้อตกลงส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนกับฮ่องกงอยู่ รวมถึงจีนแผ่นดินใหญ่ โดยจะพิจารณาเป็นรายคดี

ก่อนหน้านี้ แคร์รี หล่ำ ผู้บริหารสูงสุดเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ได้อธิบายไว้ว่าข้อเสนอกฎหมายนี้จะช่วยอุดช่องว่างทางกฎหมาย และมีเจตนาเพื่อรักษาความยุติธรรมทางกฎหมายในคดีอาชญากรรม รวมถึงปกป้องสาธารณชน มิให้ฮ่องกงเป็นแหล่งลี้ภัยของผู้ร้ายข้ามแดน

อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตเรื่องกฎหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากหลายฝ่ายว่า 
- รัฐบาลฮ่องกงไม่ควรพิจารณากฎหมายด้วยความรีบร้อน ควรพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถี่ถ้วน รวมถึงพิจารณาเรื่องหลักประกันต่างๆ เช่น การให้ผู้ต้องหาชาวฮ่องกงที่กระทำความผิดในต่างประเทศได้มีสิทธิโต้แย้งคำขอส่งตัว

- นักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวจะได้รับการคุ้มครองน้อยลง

- ฮ่องกงเลือกที่จะไม่ลงนามในข้อตกลงส่งผู้ร้ายข้ามแดนกับบางประเทศ เนื่องจากประวัติด้านสิทธิมนุษยชนและระบบตุลาการไม่ได้มาตรฐาน

- ชาวฮ่องกงไม่ไว้ใจระบบตุลาการของจีนแผ่นดินใหญ่ และกลัวว่าชาวฮ่องกง รวมถึงผู้เห็นต่างในฮ่องกงอาจเผชิญกับการยัดเยียดข้อหาได้"

- มองว่าเป็นการแทรกแซงระบบตุลาการของฮ่องกงจากทางการจีน


เรียบเรียงโดย
สาระอัปเดต 
13.06.2019

เครดิต SaraUpdate จาก blockdit

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติ “แซนด์วิช” sandwich

“บาบา ยากา (Baba Yaga)” แม่มดแห่งสลาวิก

ทำไมมดไม่ขึ้นโรงงานน้ำตาล?