มาร์กาเร็ต บราวน์ (Margaret Brown) ตำนานสตรีผู้รอดจากเรือไททานิก (Titanic)

มาร์กาเร็ต บราวน์ (Margaret Brown) ตำนานสตรีผู้รอดจากเรือไททานิก (Titanic)


Survive
มาร์กาเร็ต บราวน์
ตำนานการอับปางของเรือไททานิกในวันที่ 14 เมษายน ค.ศ.1912 (พ.ศ.2455) นับเป็นเหตุการณ์ที่เศร้าสลดและกลายเป็นตำนานมาจนถึงทุกวันนี้

หนึ่งในผู้รอดชีวิต 710 ราย จากผู้เสียชีวิตกว่า 1,500 ราย มีสตรีนางหนึ่งรอดชีวิตมาด้วย และสตรีผู้นั้นนับเป็นผู้รอดชีวิตที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด

เธอผู้นั้นคือ “มาร์กาเร็ต บราวน์ (Margaret Brown)

มาร์กาเร็ต โทบิน บราวน์ เกิดเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ปี 1867 ในรัฐมิสซูรี่ พ่อแม่ของบราวน์เป็นผู้อพยพชาวไอริชที่ทำงานหนักและมีฐานะยากจน เมื่อเธออายุได้ 13 ปี ก็ออกมาทำงานในโรงงานยาสูบเพื่อหาเงินมาช่วยเหลือครอบครัว เธอได้ย้ายไปโคโลราโด เพื่อดูแลบ้านให้กับพี่น้องของเธอ ที่นั่น เธอได้ทำงานที่ร้านขายของพรมเย็บผ้าและผ้าม่านในห้างสรรพสินค้า

ด้วยความที่เธอเป็นหญิงสาวที่มีรูปร่างใหญ่ ผมแดง และเป็นคนโผงผาง และละแวกถิ่นที่เธอพักอาศัยก็มีผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ในไม่ช้าเธอได้พบกับเจมส์ โจเซฟ บราวน์ (Joseph Brown) วิศวกรเหมืองแร่ เขามีอายุมากกว่าเธอถึง 13 ปี โจเซฟเป็นคนฉลาด ชอบสมาคม และมีความทะเยอทะยาน เธอแต่งงานกับเขาในเดือนกันยายน ปี 1886 ขณะที่เธออายุได้ 19 ปี หลังจากนั้นไม่นาน เธอกับสามีก็มีลูกด้วยกันสองคน คือลอว์เรนซ์กับเฮเลน

ในชีวิตครอบครัวของบราวน์นั้น เธอกับสามีต้องทำงานอย่างหนัก สมัยที่เธอยังไม่แต่งงาน เธอเคยคิดว่าจะครองโสดจนกว่าจะมีคนมาเสนอตัว โดยคนที่เธอจะแต่งงานด้วยต้องมีฐานะดีกว่าเธอ ดูแลเธอได้

แต่สุดท้ายเธอก็เลือกที่จะแต่งงานกับชายที่มีฐานะไม่ต่างอะไรกับเธอ เนื่องจากคำว่ารัก

แต่หลายปีต่อมา ราคาแร่เงินทรุดหนัก ส่งผลต่ออาชีพและรายได้ของครอบครัว แต่สามีของเธอกลับค้นพบทองคำในเหมืองความพยายามและความอุตสาหะในการทำเหมืองของสามีเธอทำให้บริษัทเหมืองแร่ ยกหุ้นจำนวนเกือบหนึ่งหมื่นสามพันหุ้นพร้อมกับตำแหน่งคณะกรรมการให้กับสามีของเธอ ทำให้เธอกับสามีกลายเป็นเศรษฐีเพียงชั่วข้ามคืน

สำหรับเหตุการณ์บนเรือไททานิกนั้น บราวน์เป็นหนึ่งในผู้โดยสารของเรือ ขณะที่เรือไททานิกได้หักออกเป็น 2 ท่อนและจมลงสู้ก้นสมุทรนั้น บราวน์เป็น 1 ในผู้รอดชีวิตที่ลงเรือชูชีพได้ทันเวลา

เวลานั้น เหล่าคนบนเรือชูชีพต่างกำลังหวาดกลัว ขวัญหนี ดีฝ่อ แต่บราวน์ช่วยพูดให้กำลังใจทุกคน ทำให้ทุกคนผ่อนคลาย

และในเวลานั้น ยังมีผู้รอดชีวิตบางส่วนลอยอยู่ในน้ำ แต่เจ้าหน้าที่บนเรือชูชีพก็ไม่สนใจจะไปช่วย บราวน์ถึงกับทนไม่ไหว แย่งไม้พายมา พร้อมกับขู่ว่าหากไม่กลับไปช่วยคนพวกนั้น เธอจะจับเจ้าหน้าที่โยนลงน้ำ เจ้าหน้าที่จึงจำต้องพายเรือกลับไปช่วยผู้รอดชีวิต

ซึ่งจากเหตุการณ์นี้ ทำให้บราวน์ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมาก จากที่แต่ก่อน วงสังคมมองว่าเธอเป็นสามล้อถูกหวย เธอกลับได้รับการยกย่องนับถือจากผู้คนเป็นอย่างมากจากความกล้าหาญและมีน้ำใจของเธอ

ในปีค.ศ.1932 (พ.ศ.2475) บราวน์ได้รับรางวัล Legion of Honor จากการทำงานช่วยเหลือผู้รอดชีวิตไททานิก และองค์กรของเธอในกลุ่ม Alliance Francais and her relief efforts during the war รวมถึงการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ในช่วงสงคราม

ในปีเดียวกัน บราวน์ได้จากไปอย่างสงบ ในวัย 65 ปี ด้วยอาการเนื้องอกในสมอง


เครดิต  ประวัติศาสตร์ไทยและเทศ จาก blockdit

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประวัติ “แซนด์วิช” sandwich

“บาบา ยากา (Baba Yaga)” แม่มดแห่งสลาวิก

ทำไมมดไม่ขึ้นโรงงานน้ำตาล?